ทำไมต้อง “วอร์มอัพ”

 

ทำไมต้อง วอร์มอัพ

การออกกำลังกายในยุคสมัยปัจจุบันจัดว่าเป็นที่นิยมเป็นอย่างมากเพราะมีไอดอลอย่างเช่นดารานักร้องที่มีร่างกายที่สมส่วนสวยงามจึงเป็นค่านิยมการออกกำลังกายกันมากในขณะนี้แต่สิ่งสำคัญที่ผู้คนชอบละเลยในการออกกำลังกายนั่นคือการ “วอร์มอัพ-คูลดาวน์” หรือการอบอุ่นร่างกายนั่นเองการอบอุ่นร่างกายหรือที่เรียกกันติดปากว่า “วอร์มอัพ-คูลดาวน์” ถือเป็นขั้นตอนที่ครูพละเทรนเนอร์หรือผู้ฝึกสอนย้ำนักย้ำหนาว่า “ต้องทำ” ก่อนและหลังการฝึกซ้อมและในการแข่งขันแต่ทำไมต้องทำล่ะ? ไม่ทำได้มั้ย? หากไม่ทำแล้วจะเกิดอะไรขึ้นหรืออย่างไร?

วอร์มอัพ เป็นการป้องกันอุบัติเหตุก่อนการออกกำลังกาย เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเลย เพราะก่อนการออกกำลังกายนั้น ร่างกายของคนเรายังอยู่ในภาวะที่ปกติอยู่ฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องทำการ “warm-up” ซะก่อน ซึ่งวอร์มอัพนั้นก็คือ การอบอุ่นร่างกายในเบื้องต้น เพื่อให้ร่างกายมีภาวะที่พร้อมก่อนที่จะมีการออกกำลังกาย ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ เลยก็คือ การยืดเส้นยืดสาย การยืดกล้ามเนื้อ ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น แขน ขา หัวไหล่ เอว ข้อเท้า เป็นต้น หรือมีการวิ่งแบบเหยาะๆ สัก 5-15 นาที เพียงเท่านี้ทุกๆ คนที่ชื่นชอบการออกกำลังกาย ก็จะปลอดภัยจากอาการบาดเจ็บ ที่อาจที่เกิดขึ้นขณะ เล่นกีฬาหรือหลังจากเล่นกีฬาและที่สำคัญไม่ไปน้อยกว่ากันนั่นก็คือ”cool-down” ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนกับการวอร์มอัพเพียงแต่เป็นการอบอุ่นร่างกายหลังจากที่เล่นกีฬาเสร็จแล้วนั่นเอง หากผู้ที่ออกกำลังกายทำทั้งสองอย่างนี้ควบคู่กันไป ร่างกายก็จะปลอดภัย จากอาการบาดเจ็บดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นอย่างแน่นอน

อย่าลืมว่าก่อนการออกกำลังกายทุกครั้ง สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือการอบอุ่นร่างกายหรือวอร์มอัพ (warm up) การอบอุ่นร่างกาย เป็นการเตรียมส่วนต่างๆของร่างกายหรืออวัยวะที่เกี่ยวกับการเคลื่อน ไหวให้พร้อมที่จะทำงาน เพื่อป้องกันและลดอาการ บาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นจากการออกกำลังกาย โดยทั่วไปการอบอุ่นร่างกายจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

  • การอบอุ่นร่างกาย เป็นการทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นหรือร้อนขึ้น
  • การยืดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น เพื่อให้การเคลื่อนของข้อต่อเป็นไปอย่างสะดวก ไม่เกิดการฉีกขาด สำหรับประเทศไทยซึ่งมีอากาศร้อน การทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น การอบอุ่นร่างกายจึงไม่ค่อยสำคัญเท่ากับประเทศ ที่มีอากาศหนาวที่จะต้องใช้เวลาในการอบอุ่นนานพสมควร

กล้ามเนื้อของเรา ยืดได้ดีมากน้อยเพียงใด

หากต้องการจะทราบว่ากล้ามเนื้อของเรา ยืดได้ดีมากน้อยเพียงใดอาจทำได้ด้วยวิธี ง่ายๆ ดังขั้นตอนนี้

  1. ยืนตัวตรง ข้อเข่าเหยียดตรง
  2. แล้วค่อยๆก้มตัวลงมาทางด้านหน้า
  3. พยายามใช้ปลายมือแตะที่นิ้วเท้า

ถ้าสามารถแตะได้แสดงว่ากล้ามเนื้อทางด้านหลังไม่ตึง แต่ถ้านิ้วมือยังห่างพื้นมากแสดงว่ากล้ามเนื้อทางด้านหลังยังตึงมาก ควรต้องยืดกล้ามเนื้อทางด้านหลังโดยเฉพาะบริเวณด้านหลังของต้นขา สะโพก และเอวให้มากขึ้น

การยืดกล้ามเนื้อจะต้องยืดช้าๆ อย่ายืดรุนแรงหรือทำในจังหวะที่รวดเร็ว cool-down และหลังจากที่ได้ออกกำลังกายติดต่อกันเป็นเวลานาน     อย่าลืมว่าเมื่อจะเลิกออกกำลังกาย โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบ แอโรบิกนั้น ห้ามหยุดออกกำลังกายทันทีทันใด จะต้องค่อยๆผ่อนให้ร่างกายเย็นลงช้าๆ ให้มีระยะคลายอุ่นหรือ cool-down เนื่องจากว่า ขณะที่เราออกกำลังกายหนักๆซึ่งใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ หัวใจต้องส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อที่ทำงานหนัก โดยบีบตัวให้แรงมากขึ้นและด้วยจังหวะที่เร็วขึ้น ในขณะที่กล้ามเนื้อได้รับเลือดมาก ก็จะหดตัวบีบเอาเลือดกลับไปยังหัวใจมากขึ้นเช่นกัน เป็นการรักษาวงจรการไหลเวียนของเลือดให้เป็นไปอย่างปกติ

หากเราออกกำลังกายไปเรื่อยๆระบบวงจรนี้ก็เป็นไปอย่างเรียบร้อย ถ้าหากเราหยุดออกกำลังกายทันทีกล้ามเนื้อจะหยุดหดทันทีด้วย เป็นผลให้มีเลือดคั่ง ในส่วนต่างๆของร่างกายเป็นจำนวนมาก หัวใจที่ยังเต้นเร็ว และแรงอยู่นั้นก็จะได้รับเลือดไม่พอเกิดการขาดเลือดอย่างทันทีด้วย ถ้าเป็นในวัยหนุ่มสาวผลที่เกิดจะมีผลน้อย แต่สำหรับคนอายุมากถ้าเลือดมาเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพออาจไม่ดีนัก อาจเกิดอันตรายรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นหลังการออกกำลังกายอย่างหนักแล้ว ห้ามหยุดยืนนิ่งหรือนั่งลงทันที ควรให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวไปอีกสักระยะหนึ่ง เช่น วิ่งช้าๆ หรือเดินต่อไปเพื่อให้กล้ามเนื้อได้หดตัว และหัวใจเต้นช้าลง เป็นการรักษาวงจรให้สมดุลต่อไปอีกระยะหนึ่ง

การออกกำลังกายจะมี 5 ขั้นตอน คือ

  1. การอบอุ่นร่างกาย ( warm up )
  2. การยืดกล้ามเนื้อ ( stretching )
  3. การออกกำลัง ( training zone exercise )
  4. การผ่อนกาย ( cool down )
  5. การยืดกล้ามเนื้อ ( stretching )

การอบอุ่นร่างกายหรือการอุ่นเครื่อง

เป็นการเตรียมร่างกายโดยเฉพาะปอดและหัวใจ ให้พร้อมที่จะรับการออกกำลังกาย การอบอุ่นร่างกายที่ดีก็คือกิจกรรมที่สามารถทำให้อุณหภูมิร่างกาย อุณหภูมิกล้ามเนื้อ และปริมาณเลือดที่ไหลเวียนสู่กล้ามเนื้อที่จะใช้งานเพิ่มสูงขึ้นจากสภาวะพัก อาจจะเริ่มด้วยการเดินช้าๆ แล้วค่อยๆเดินเร็วขึ้น จนชีพจรของเราเริ่มเต้นเร็วขึ้น จาก 70 ครั้งต่อนาทีมาเป็น 100 หรือ 110 ครั้งต่อนาที ช่วงนี้ร่างกายของเราจะค่อยๆปรับตัว ทำให้ไม่เกิดอันตรายในการออกกำลังกาย การอบอุ่นร่างกายควร ใช้เวลาอย่างน้อย 5-10 นาที การยืดกล้ามเนื้อ เป็นการเตรียมกล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ และเอ็นข้อต่อของร่างกายให้เตรียมพร้อมที่จะรับการออกกำลังกาย ทำให้ไม่เกิดการบาดเจ็บขึ้นเมื่อเราเริ่มออกกำลังกาย ช่วงนี้ก็ใช้เวลา 5-10 นาที ช่วงของการออกกำลังกาย ( training zone exercise ) ช่วงนี้ก็คือช่วงของการออกกำลังกายแบบแอโรบิค ( aerobic exercise ) เช่นถ้าวิ่งก็จะวิ่งให้มีความหนักเพียงพอคือให้หัวใจเต้นประมาณ 60-80 % ของชีพจรสูงสุดซึ่งจะเป็นช่วงที่มีผลต่อการฝึกปอดและหัวใจโดยที่ไม่มีอันตรายต่อร่างกาย

การผ่อนกาย ( cool down )

หลังการออกกำลังกายเป็นการปรับสภาพร่างกายจากการออกกำลังกายมาเป็นสภาพปกติถ้าเราหยุดทันทีหัวใจที่เคยเต้น 130 – 140 ครั้งต่อนาทีจะกลับมาสู่สภาพปกติคือเต้น 70 ครั้งต่อนาทีในเวลาสั้นๆก็อาจเกิดอันตรายได้เพราะปอดและหัวใจปรับตัวไม่ทันเนื่องจากปริมาณเลือดของร่างกายส่วนใหญ่จะไหลเวียนไปยังกล้ามเนื้อขณะออกกำลังกายหากหยุดออกกำลังกายทันทีทันใดจะทำให้เลือดที่ไหลเวียนกลับสู่หัวใจน้อยลงโดยเลือดจะคั่งค้างอยู่ที่หลอดเลือดภายในกล้ามเนื้อโดยเฉพาะกล้ามเนื้อของขา (Pooling Effect) ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่บีบออกจากหัวใจเพื่อส่งไปยังส่วนต่างๆของร่างกายลดลงโดยเฉพาะสมองจึงทำให้เกิดอาการหน้ามืดเป็นลมได้เราจึงต้องใช้เวลาอย่างน้อย 5-10 นาทีในการปรับตัวคือค่อยๆลดชีพจรลงจนเป็นปกติการยืดกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกายก็เพื่อช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกายและช่วยลดอาการตึงหรือเกร็งของกล้ามเนื้อและจะเป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นของร่างกาย

หวังว่าคงจะไม่รีบร้อนออกกำลังกายโดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนนะครับ เพราะจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย

ขอขอบคุณข้อมูลจากเพจ : Shockwave Muscle , FBT

หลักแห่งชีวิต
คาถา 5 ย ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า