คาถา 5 ย ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

นายสัตวแพทย์จีระศักดิ์ พิพัฒนพงศ์โสภณ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้กล่าวถึงสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้า ในวันที่ 2 มีนาคม  2561  ว่า ทางกรมปศุสัตว์ ได้ประกาศเขตโรคระบาดพิษสุนัขบ้าไปแล้ว 13 จังหวัด เป็นพื้นที่สีแดง คือ จังหวัดสุรินทร์  สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา น่าน บุรีรัมย์ อุบลราชธานี เชียงราย ร้อยเอ็ด สงขลา ระยอง ตาก และศรีสะเกษ และชลบุรี นอกจากนี้ยังต้องเฝ้าระวังโรคระบาดพิษสุนัขบ้าในอีก 42 จังหวัด ซึ่งจัดให้อยู่ในพื้นที่สีเหลือง ซึ่งมีผู้เสียชีวิตแล้ว 3 คน มีจังหวัดชลบุรี  จังหวัดของเราด้วย แสดงว่าอยู่ใกล้ตัวเรามากๆเลยนะ  

ซึ่งปัญหาหลัก  ก็มาจากการที่เจ้าของไม่นำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกัน ปล่อยสัตว์เลี้ยงไปนอกบ้านเสี่ยงถูกกัดจากสัตว์ที่มีเชื้อ ที่สำคัญขาดความตระหนักถึงการป้องกันการติดเชื้อ รู้อย่างนี้แล้ว นักเรียนคนใดที่เลี้ยงสัตว์ทั้งสุนัขและแมวที่เป็นสัตว์เลี้ยงที่นิยมเลี้ยงกันก็ควรพาไปฉีดวัคซีนด้วยนะค่ะ เอ!!!  จริงๆแล้วไม่ว่าจะเป็นสัตว์อะไรที่เราเลี้ยงไว้  เราอยากให้เค้าอยู่กับเราไปนานๆ  เราก็ควรหมั่นพาไปพบสัตวแพทย์ และศึกษาถึงโรคต่างๆที่จะเกิดกับสัตว์เลี้ยงของเรา 

นักเรียนรู้จักโรคพิษสุนัขบ้ากันหรือเปล่าคะ?

โรคพิษสุนัขบ้าหรือที่คนไทยมั้กเรียกติดปากว่าโรคกลัวน้ำ โรคนี้จัดเป็นโรคติดต่อร้ายแรงชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ เรบีส์ ไวรัส (Rabies) ทำให้เกิดโรคได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น คน สุนัข แมว ลิง ชะนี กระรอก ค้างคาว ฯลฯ ถ้าติดเชื้อโรคนี้แล้ว  จะทำให้มีอาการทางประสาท โดยเฉพาะระบบประสาทส่วนกลาง และถ้าเป็นแล้วเสียชีวิตทุกราย ที่น่ากลัว คือปัจจุบันไม่มียา  ที่จะรักษาได้  น่ากลัวมั้ยค่ะ

แล้วเข้ามาสู่คนได้อย่างไรคะ?

 คนสามารถติดโรคจากสัตว์เหล่านี้ได้ 2 ทางคือ

  1. ถูกสัตว์ที่เป็นโรคกัด ไวรัสเรบีส์ก็จะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลที่ถูกกัดนั้นเอง
  1. ถูกสัตว์ที่เป็นโรคเลีย บริเวณที่มีบาดแผล  รอยถลอก หรือรอยขีดข่วน รวมทั้งถูกเลียที่ริมฝีปากหรือนัยน์ตา ห้ามยากจังเลยจริงมั้ยค่ะเด็กๆๆ เราคงต้องระวังกันแล้วนะ 

เอ!!! อาการของคนที่ได้รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า เป็นยังไงหนอ???

ในระยะ 2-3 วันแรก อาจมีไข้ต่ำ ๆ ต่อไปจะมีอาการเจ็บคอ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คันหรือปวดแสบปวดร้อนตรงบริเวณแผลที่ถูกกัด ทั้ง ๆ ที่แผลอาจหายเป็นปกติแล้ว ต่อไปจะมีอาการตื่นเต้นง่าย กระสับกระส่าย ไม่ชอบแสงสว่าง ไม่ชอบลม และไม่ชอบเสียงดัง กลืนลำบาก แม้จะเป็นของเหลวหรือน้ำ เจ็บมากเวลากลืน เพราะการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืน แต่ยังมีสติพูดจารู้เรื่อง ต่อไปจะเอะอะมากขึ้น และสุดท้ายอาจมีอาการชัก เป็นอัมพาต หมดสติ และเสียชีวิต เนื่องจากส่วนที่สำคัญของสมองถูกทำลายไปหมด 

แล้วทำอย่างไรเราถึงจะปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้าล่ะ?

คาถา 5 ย. เพื่อลดความเสี่ยงต่อการถูกกัดหรือข่วน จำได้ง่ายๆ ดังนี้

  1. อย่าแหย่ให้สุนัขโมโหโกรธ 
  2. อย่าเหยียบหางหัวตัวขาหรือทำให้สุนัขหรือสัตว์ต่างๆตกใจ 
  3. อย่าแยกสุนัขที่กำลังกัดกันด้วยมือเปล่า 
  4. อย่าหยิบชามข้าวหรือเคลื่อนย้ายอาหารขณะที่สุนัขกำลังกินอาหาร 
  5. อย่ายุ่งหรือเข้าใกล้กับสุนัขหรือสัตว์ต่างๆนอกบ้านที่ไม่มีเจ้าของหรือไม่ทราบประวัติ 

เรียบเรียงโดย

นางจันทรัสน์  กาลกรณ์สุรปราณี. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

แหล่งข้อมูอ้างอิง

ข้อมูล : สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ/สำนักระบาดวิทยา

ข้อความดัดแปลงจาก : https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_794840

ที่มาภาพ : ดัดแปลงจาก http://www.vcharkarn.com/varticle/56779 

ที่มาภาพ : https://www.dogilike.com/content/review/5639/

ที่มาภาพ : http://thainews.prd.go.th/website_th/news/news_detail/WNSOC6011110010043

ทำไมต้อง "วอร์มอัพ"
บทความเรื่อง อย่ากระพริบตา เรื่องที่ครูและคนยุคใหม่ต้องรู้